การวิจัย

การทำความเข้าใจทัศนคติของชุมชนท้องถิ่นต่อความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และสัตว์เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างแผนการอย่างยั่งยืนเพื่อบรรเทาปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2553 BTEH และผู้นำด้านการอนุรักษ์ได้ทำการสำรวจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลช่องสะเดาจำนวน 410 คน จากผลการสำรวจของ BTEH ร่วมกับมหาวิทยาลัย Miami ทำให้ BTEH สามารถเข้าใจสถานการณ์ HEC ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระดีขึ้น ผลการสำรวจพบว่า

ผู้ที่ทำงานมรภาคเกษตรกรรมรู้สึกเชิงลบมากขึ้นเกี่ยวกับช้าง เนื่องจากช้างทำลายพืชทางเกษตรกรรม เช่น มันสำปะหลัง กล้วยขนุน และมะม่วง ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการอนุรักษ์ของชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อช้างมากกว่าชาวบ้านที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการเป็นอย่างมาก คนส่วนใหญ่(87%) รู้สึกว่าการลงทุนในการอนุรักษ์ช้างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช้างดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผู้ริเริ่มการอนุรักษ์ ส่วนใหญ่เกิดจาการที่ชาวบ้านในท้องถิ่นมีประวัติอันยาวนานในการอาศัยร่วมกันกับช้าง แบะช้างก็ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยด้วย

[images] [/images]

นอกจากการสำรวจแล้ว BTEH ได้จัดให้มีการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อการนำสมาชิกในชุมชนและเจ้าหน้าที่อุทยานมาคุยกันเพื่อความปรองดองกัน การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนช่วยให้อำนวยความสะดวกให้การเจรจาและกระตุ้นให้เกิดความเป็นเจ้าของของโครงการอนุรักษ์ในสมาชิกในชุมชน ภายใต้เป้าหมายร่วมกัน “สิ่งแวดล้อมที่ดีของช้างสร้างความสุขให้แก่คน” กิจกรรมต่างๆที่เป็นความต้องการของทั้งชุมชนและเจ้าหน้าที่อุทยานได้ถูกอภิปรายและเพิ่มเข้าไปในแผนการของ the Conservation Leadership ในการวางแผนเพื่อฟื้นฟูป่าไม้ของเรา ข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของช้างเป็นสิ่งสำคัญในเกาะบอร์เนียว การวิจัยได้ดำเนินการโดยDanau Girang Field Centreในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Kinabatangan ตอนล่าง เพื่อพัฒนารูปแบบการอยู่อาศัยที่เหมาะสมและค้นหาเส้นทางการเดินทางของช้าง ในขณะนี้ ช้าง 9 ตัวได้ถูกติดตั้ง เพื่อดูเส้นทางการอพยพและระบุพื้นที่ที่มีปัญหา โครงการนี้ได้ช่วยแปลข้อมูลจากการวิจัยให้เป็นการปฏิบัติจริง เพื่อช่วยช้างในเกาะบอร์เนียวจากการสูญพันธุ์ ในโครงการวิจัยฟื้นฟูป่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของต้นไม้เพื่อโอกาสในการเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวในอดีต ด้วยโปรแกรมการตรวจสอบของเราซึ่งจะตรวจสอบว่าต้นไม้ที่ปลูกจะมีโอกาสรอดชีวิตและเติบโตในช่วง 2-3 ปีแรกในสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมบางอย่างหรือไม่ ในท้ายที่สุดเราต้องการวัดความรวดเร็วในการฟื้นฟูป่าในการเติบโตจนคล้ายคลึงกับระบบนิเวศของป่าเป้าหมายและได้รับการบูรณะให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับช้างป่า

เมื่อตั้งค่าพื้นที่ทดลองแล้ว เราจะพบคำตอบสำหรับคำถามเช่น:

  • ต้นไม้ที่ผ่านการทดสอบแล้วมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่?
  • การออกแบบสวนสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นได้อย่างไร เช่น สายพันธุ์ใดสามารถอนู่รอดได้ดีในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์สลักพระ(ป่าไผ่เป็นส่วนใหญ่) หรือในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ Kinbatangan (ป่าดิบชื้นผสมป่าดิบแล้ง)
  • ความหลากหลายทางชีวภาพฟื้นตัวเร็วแค่ไหน? ระยะทางจากป่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร?
  • ผลกระทบของช้างป่าในการฟื้นฟูป่าคืออะไร?
Single donation (EN)
Would you like to donate?
How do you wish to pay?
Choose your bank
Choose your creditcard
Please enter your details

Section

Gender
Terms *
‹ Back to previous page