ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร

โดย: ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Antoinette van de Water

ชื่อของมูลนิธิ “พาช้างกลับบ้าน” มาจากโครงการแรกของเรา เราได้นำช้างสองตัวออกมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นธรรมชาติ เช่นการเดินเร่ร่อนขอเงินตามถนน และพากลับไปยังบ้านที่เหมาะสมและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ในขณะนั้นงานส่วนใหญ่ของเราคือการดูแลบ้านที่เป็นแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของช้าง นี่คือสิ่งที่เราเริ่มต้น!

การเดินทางเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อฉันได้เดินทางไปประเทศไทยและอาสาไปที่สวนสัตว์ Elephant Nature Park ในศุนย์อนุรักษ์ช้างแห่งนี้ได้ปลดปล่อยช้างจากการขอทาน การแสดง และการกระทำที่ทุจริตอื่นๆ ฉันได้ตกหลุมรักกับลูกช้าง “กิ่งไม้” ที่เพิ่งสูญเสียแม่ของมันและได้รับการช่วยเหลือไว้ ผู้ก่อตั้ง Elephant natural Park แสงเดือน ชัยเลิศ หรือเล็กได้ให้ความรักและเลี้ยงดูกิ่งไม้เป็นอย่างดีดุจแม่อุปถัมภ์ ในระหว่างเดินทางกลับกรุงเทพฯ ฉันได้เจอลูกช้างที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากมันกำลังขอทานที่ถนนข้าวสาร ลูกช้างมีแววตาหวาดกลัวเป็นอย่างมากและมันได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของฉันไปตลอดการ แต่ฉันไท่สามารถทำอะไรเพื่อช่วยเหลือลูกช้างขอทานตัวนี้

[images] [/images]

หยุดช้างเร่ร่อนในประเทศไทย

สองปีต่อมาฉันได้กลับไปทำงานอาสาสมัครอีกครั้งที่ Elephant Nature Park แต่ครั้งนี้อย่างมีแผนการ จะเกิดอะไรขึ้นหากตอนนั้นฉันสามารถช่วยเหลือช้างขอทานสองตัวนั้นและพาพวกมันกลับป่าที่เป็นบ้านของพวกมัน และเผยแพร่การศึกษาทั่วประเทศไทย? ด้วยสมองที่เต็มไปด้วยแนวคิด คำแนะนำ ข้อควรระวัง แรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นในการทำให้มันเป็นจริง ฉันกลับบ้านที่เนเธอร์แลนด์และลงทะเบียนมูลนิธิพาช้างกลับบ้าน

ในจังหวัดสุรินทร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ฉันได้พบช้างสองตัวคือศรีนวลและดอกเงินที่ต้องการความช่วยเหลือจากสถานการณ์เลวร้าย ดอกเงินดูเครียดมาก มันกรีดร้อง และสั่นและโยกศีรษะของมัน ตอนนั้นดอกเงินกำลังฝึกการแสดงใหม่คล้ายกับการเป่าออร์แกน เห็นได้ชัดว่าการฝึกนั้นไมเป็นมิตรกับสัตว์และยังพบรอยแผลเป็นและแผลสดบนช้างอีกด้วย ศรีนวล(อายุ 47 ปี) ก็เป็นหนึ่งในช้างขอทานเช่นกัน ควาญช้างบอกว่าวันหนึ่งศรีนวลได้ทำลายโซ่และหนีไป บนทุ่งนามีคนยิงศรีนวลด้วยหนังสติ๊กและโดนที่ตาของเธอ หนุงหนิงลูกของศรีนวลถูกขายให้กับการแสดงในขณะที่มีอายุเพียง 8 เดือน เธอยังต้องขอทานท้องถนนต่อไปแม้จะชอกช้ำใจจากการสูญเสียลูกและต้องตาบอดหนึ่งข้าง

ศรีนวล ดอกเงิน และทีมช่วยเหลือช้างได้เริ่มต้นการเดินทางที่น่าผจญภัยและน่าทึ่งจากกรุงเทพฯไปยังเชียงใหม่ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ระหว่างการเดินทางทีมงานได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับช้างให้กับโรงเรียนในท้องถิ่น จัดการประดวกศิลปะ และระดมความคิดร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อช่วยให้ช้างขอทานได้กลับบ้าน และเมื่อเร็วๆนี้พวกมันก็ได้พบบ้านที่แสนวิเศษตลอดกาลที่ Elephant Natural Park มูลนิธิพาช้างกลับบ้านได้เริ่มการอุปถัมภ์ช้างและระดมทุนเพื่อสนับสนุนการดูแลช้างเหล่านี้อย่างต่อเนื่องที่ Elephant Natural Park โครงการนี้ได้ขยายไปสู่ช้างที่ถูกช่วยเหลือจากมูลนิธิในช่วงหลายปี คนเริ่มตระหนักถึงสถานการณ์อันเลวร้าของช้างข้างถนนและคนจำนวนมากขึ้นได้เข้าเยี่มชมศูนย์อนุรักษ์ที่เป็นมิตรกับสัตว์มากขึ้น เช่น Elephant Natural Park แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงมีงานอีกมากที่จะต้องทำ!

[images] [/images]

 

อนาคต

ยิ่งฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับช้างมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งได้ตระหนักว่าการตัดไม้ทำลายป่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาที่ช้างกำลังเผชิญอยู่ เราจึงต้องลงมือทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อช่วยเหลือช้างเอเชีย ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้มีความพยายามในการปกป้องช้างเอเชียและถิ่นที่อยู่ของพวกมันด้วยการพัฒนาแนวทางแบบบูรณาการที่รวมการปฏิบัติจริง  การมีส่วนร่วมของชุมชน การศึกษา การวิจัย และเสริมสร้างขีความสามารถ

มูลนิธิพาช้างกลับบ้านได้ทำงานในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ และสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน กิจกรรมที่หลากหลายของทางมูลนิธิฯทำให้เกิดการเรียนรู้และผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง เราได้เรียนรู้ว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโครงการอนุรักษ์ ซึ่งการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยมีความสำคัญมากกว่าการช่วยเหลือสัตว์ทีละตัว และมีคนจำนวนมากที่ต้องการจะเข้าร่วมกับโครงการอนุรักษ์หากพวกเขามีโอกาส

[images] [/images]

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาความมุ่งเน้นของเราได้เปลี่ยนทิศทางไปเล็กน้อยในการปกป้องช้างป่า แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ให้การสนับสนุนช้างที่ถูกกักขังอีก เรามุ่งเน้นในกรณีที่จำเป็นมากที่สุด ที่ๆเราสามารถสร้างความแตกต่างได้จริงๆ และในสถานการณ์ที่เราไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับการค้าช้าง มูลนิธิฯ เชื่อว่าการปกป้องสัตว์ป่าไม่ใช่เพียงแค่ความรับผิดชอบของรัฐบาลเท่านั้น แต่ทุกคนต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมไปถึงชุมชนท้องถิ่น เยาวชน นักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และทุกคนที่มีความสนใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางมูลนิธิฯรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานอนุรักษ์เพื่อทำภาคสนามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ฉันไม่สามารถนึกถึงภาพอนาคตโดยไม่มีช้าง แต่อย่างไรก็ตามช้างกำลังหายไปต่อหน้าต่อตาของพวกเรา ในความคิดเห็นของชั้นช้างทุกตัวควรได้ใช้ชีวิตอยู่ในป่า ถ้าหากเป็นไปไม่ได้พวกมันก็ควรจะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ที่ซึ่งพวกมัยสามารถเป็นอิสระได้ มูลนิธิพาช้างกลับบ้านได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือให้ช้างป่าอยู่รอดได้  ด้วยความช่วยเหลือจากอาสาสมัครหลายร้อยคน เราได้ปลูกต้นไม้กว่า 600,000 ต้น สร้างฝายและเขื่อนขนาดเล็กมากกว่าหนึ่งร้อยแห่งเพื่อกักเก็บน้ำ เพิ่มเกลือเพิ่มดินโป่งในธรรมชาติ และป้องกันป่าไม้จากไฟป่า เราสังเกตเห็นการฟื้นฟูของป่าในพื้นที่ที่เราทำงาน รวมไปถึงพันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้นด้วย ระบบนิเวศสามารถเจริญเติบโตได้อีกครั้งด้วยความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยจากเรา

แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีงานจำนวนมากที่เราต้องทำ ในอีกหลายปีข้างหน้ามูลนิธิพาช้างกลับบ้านยังคงเป็นที่ไว้วางใจในการทำงานหนักต่อไป ด้วยความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายเราสามารถสร้างคามแตกต่างได้!

ขอแสดงความนับถือ Antoinette van de Water

ชมดีโอไฮไลต์ตลอดสิบปีของมูลนิธิพาช้างกลับบ้าน:

Single donation (EN)
Would you like to donate?
How do you wish to pay?
Choose your bank
Choose your creditcard
Please enter your details

Section

Gender
Terms *
‹ Back to previous page