ผึ้งเพื่อการเปลี่ยนแปลง

การทำลายป่าไม้และการทำให้ที่อยู่ตามธรรมชาติของช้างเสื่อมโทรมส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ต้องกลายเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เหตุการณ์การสร้างความเสียหายและทำลายทรัพย์สิน การบุกรุกพืชผลทางเกษตรกรรม และการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของทั้งคนและช้างมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทางออกที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรเทาปัญหาความขัดแย้งของมนุษย์กับช้างโดยทั่วไปมักมีราคาค่อนข้างแพงและเป็นวิธีการที่ไม่ยั่งยืนหรือ/และไม่ได้ผล หลายวิธีที่พบโดยทั่วไปมักได้ผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้นเนื่องจากสัตว์ที่ฉลาดอย่างช้างมักจะสามารถหาทางหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างเช่น ช้างใช้กิ่งไม้เพื่อผลักดันรั้วไฟฟ้าเพื่อให้สามารถเดินเข้าไปในสวนได้โดยไม่ทำให้ตัวเองได้รับอันตราย การสร้างรั้วไฟฟ้าเช่นนี้ต้องได้รับการซ่อมแซมที่ไม่มีที่สิ้นสุดและมาพร้อมกับราคาค่าไฟฟ้ารายเดือนที่มีราคาสูง

ตอนนี้เราต้องการความช่วยเหลือจากคุณเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพื่อให้คนและช้างสามารถอยู่ร่วมกันซึ่งจะทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถเจริญเติบโตได้อีกครั้ง โปรดสนับสนุนโครงการนี้ด้วยการบริจาคผ่า นลิงก์นี้.

[images] [/images]

ผึ้งและช้าง

ในประเทศเคนยา นักวิยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าช้างกลัวหรือระมัดระวังตัวจากผึ้ง ช้างมีการส่งสัญญาณพิเศษเพื่อแจ้งให้ฝูงช้างรู้เมื่ออยู่ใกล้ผึ้ง(Soltis, 2557). จากการทดลองโดยใช้เสียงของผึ้งพบว่าช้างเดินหนีไปเมื่อได้ยินเสียงผึ้งรบกวน(King, 2550) ในประเทศซิมบับเว นักวิจัยพบผลการทดลองที่คล้ายคลึงกันเพื่อติดตั้งรังผึ้งบนต้นไม้ที่มักถูกทำลายโดยช้างป่า(Karidozo, 2548).

ดังนั้นแล้ว การสร้างรั้วรังผึ้งจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาใหม่ที่ยั่งยืนเพื่อหลีกเลี่ยงการบุกรุกพืชพันธุ์ทางเกษตรกรรมในบริเวณที่มีช้างสัญจรไปมาจำนวนมาก ในขณะที่รั่วไฟฟ้านั้นขัดต่อธรรมชาติ รั้วรังผึ้งใช้ความสัมพันธ์ในธรรมชาติเป็นทางออก รั้วรังผึ้งเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์มากมายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการขาดน้ำผึ้งและการลดความเสียหายของพืชผลทางเกษตรกรรมอันเกิดจากช้าง การผสมเกสรของผึ้งยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มผลผลิตของพืชพันธุ์อีกด้วย ผลของการติดตั้งรั้วรังผึ้งอย่างมีแผนการทำให้มนุษย์และช้างสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ช้างและผึ้งมีบางอย่างที่เหมือนกัน: เป็นสายพันธุ์หลักทำให้ชีวิตมีความเป็นไปได้สำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พวกมันมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศที่พวกมันเป็นส่วนหนึ่ง การหายไปของสายพันธุ์หลักจะส่งผลกระทบเชิงลบโดยตรงต่อสายพันธุ์อื่นๆที่อาศัยพวกมันอย่างมาก ผึ้งเป็นสัตว์สายพันธุ์หลักเพราะเป็นแมลงผสมเกสร ประมาณ 33% ของพืชในโลกขึ้นอยู่กับการผสมเกสรของสัตว์เช่นผึ้งและ 60-90% ของพันธุ์พืชขึ้นอยู่กับสัตว์ผสมเกสรชนิดอื่นๆ(Kremen, 2550) ช้างทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ได้ด้วยการสร้างทุ่งหญ้า ทางเดิน และแหล่งน้ำที่สามารถเข้าถึงได้ ในบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่นช้างจะเปิดพื้นที่ป่า พื้นที่ป่าเกิดเหล่านี้จะกลายเป็นทุ่งหญ้าและเพิ่มความหลากหลายทางธรรมชาติของป่า พืชหลายชนิดอาศัยช้างในการกระจายเมล็ดและเจริญเติบโต อาหารที่ช้างกินมีเมล็ดพันธุ์พืชอยู่จำนวนมากซึ่งจะถูกแพร่กระจายทางมูลช้างไปเป็นระยะทางไกล มูลช้างอุดมไปด้วยแร่ธาตุและเป็นปุ๋ยชั้นดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ใช้ในการเจริญเติบโต

ทำไมเราจึงต้องเป็นห่วง? เนื่องจากเมื่อปราศจากช้างและผึ้งแล้วตัวเราเองจะตกอยู่ในความเสี่ยง การใช้ผึ้งจึงเป็นกลยุทธ์ในการยับยั้ง จะช่วยสร้างความปรองดองในเหตุการณ์ความขัดแย้งและทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าดีขึ้นด้วย

รั้วรังผึ้งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในเอเชียและโครงการเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และช้าง (HEC)โดยรวม โครงการนำร่องได้เปิดตัวในประเทศศรีลังกา(โดย Save the Elephant) และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (โดยสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง) เพื่อนำแนวคิดของท้องถิ่นเกี่ยวกับรั้วรังผึ้งเป็นแนวทางการบรรเทาปัญหาความขัดแย้งของมนุษย์และช้าง มูลนิธิพาช้างกลับบ้านได้จัดการทัศนศึกษาครั้งแรกในประเทศไทยในเดือนธันวาคมปี 2558 สมาชิกในชุมชนท้องถิ่น 40 คน เจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) และนักวิทยาศาสตร์จากจังหวัดการญจนบุรีได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้รั้วรังผึ้งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และช้างในระหว่างการทัศนศึกษานี้ ผู้เข้าร่วมโครงการมีปฏิกิริยาในเชิงบวกเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาด้วยรั้วรังผึ้งและกลับไปที่หมู่บ้านด้วยแรงบัลดาลใจและความกระตือรือร้นเกี่ยวกับแนวความคิดใหม่นี้ที่ได้รับการปรับปรุงและมีความยั่งยืนมากขึ้นในการป้องกันความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้าง ความรู้ที่ได้จากการจัดการทัศนศึกษาได้ถูกนำไปรวมกับข้อเสนอโครงการระยะสั้นที่ออกแบบมาเพื่อช่วยชุมชนท้องถิ่นให้บรรลุเป้าหมายในการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างปรองดองกับช้างป่าในจังหวัดกาญจนบุรี

[images] [/images]

เมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 BTEH ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเจ้าของสวนจำนวน 46 รายที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งของมนุษย์และช้างในจังหวัดกาญจนบุรี จากการสำรวจครั้งนี้เราพบว่า:

  • 54% ของบุคคลที่ทำงานในภาคเกษตรกล่าวว่าบางส่วนของพืชของพวกเขาถูกทำลายโดยช้างในชีวิตประจำวัน
  • 70% ของชาวบ้านที่ทำการสำรวจต้องการให้ช้างกำจัดให้สิ้นซาก
  • 52% ของผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวว่าพวกเขาจะไม่คัดค้านในการค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการยับยั้งช้างป่าจากการบุกรุกพืชไร่
  • 94% มีความสนใจในรั้วรังผึ้งร้อยละ 33 ยินดีที่จะใช้วิธีการใช้รั้วรังผึ้งทันทีและ 61% อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใหม่นี้ก่อนที่จะดำเนินการต่อ
  • 59% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจระบุว่าต้องการรับการสนับสนุนในรูปแบบของการฝึกอบรมวิธีการสร้างรั้วรังผึ้ง 35% ในการฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้งและเพียง 11% ตอบว่าต้องการรับการสนับสนุนทางการเงิน

หลังจากเสร็จสิ้นการวิจัย การสร้างเครือข่ายและการทัศนศึกษาแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียก็พร้อมที่จะเปิดตัวโครงการ “Bee the Change” แทนที่จะใช้รั้วไฟฟ้าที่มีราคาแพง เราเลือกที่จะแทนที่ด้วยวิธีแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดและยั่งยืนมากขึ้น โครงการ Bee the Change จะมีผลกระทบทางบวกอย่างมากต่อความหลากหลายทางชีวภาพของป่า ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และต่อชีวิตช้างที่อาศัยอยู่

เราต้องการความช่วยเหลือจากคุณ

หากคุณต้องการช่วยเราในการสร้างรั้วผึ้งเพิ่มเติมโปรดบริจาคให้กับโครงการนี้ เราต้องการระดมทุน 3,000 เหรียญเพื่อติดตั้งรั้วรังผึ้งในพื้นที่ที่มีต้องการมากที่สุด ยิ่งคุณบริจาคมากเราก็ยิ่งทำได้มากขึ้น

ช่วยบอกต่อ!

  • สนับสนุนโครงการนี้ด้วยการบริจาคผ่านลิงก์นี้ .
  • ช่วยแชร์เพจนี้และวิดีโอ Bee the Change video ทางโซเชียวมีเดียของคุณ
  • เข้าร่วมการประมูลงานศิลปะเกี่ยวกับช้างกับเราทาง Ebay-Bring the Elephant Home
  • เข้าร่วมกับเราบน Facebook
  • ท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน: เยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเพื่อดูช้างในป่าแทนสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับช้างที่ถูกกักขัง
  • ปลูกดอกไม้และสมุนไพรที่เป็นมิตรกับผึ้ง

[images] [/images]

ขอขอบคุณ

Critical Ecosystem Partnership Fund (CEPF) of IUCN และ Fondation Ensemble สำหรับการให้เงินสนับสนุนโครงการ

และรวมไปถึงผู้สนับสนุนโครงการริเริ่มของเราที่ Indiegogo ขอบคุณสำหรับการบริจาดเป็นอย่างมาก Sylvie Quessada, Yasmina Aulés, Mary Ulseth, Eve, Lotte Witty, Marny Blom, Christin Hesse, Floris Quant, Robyn Lauster, Emily Ventura, Aurora Steil, Lange Heike, Jessi Nabuurs, Alison Miethke, M J Ashton, Ron Mura, Elies, Gerard Brinkman, Ilse Chang, Kees Kodde, Rini Antonissen, Bernadette Vieverich, Valentijn van ‘t Riet, Katie Badowski, Laura Marx, Bradley Smith, Sarah Quick Pappalardo, Kurt Reynertson, Perky Smith-Hagadone, Jorg Fockele and the Edge Chiang Mai. เราสามารถสร้างความแตกต่างด้วยกัน

เร็วๆนี้พบกับน้ำผึ้งที่เป็นมิตรต่อช้างสดใหม่จากรั้วรังผึ้งที่ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่าภูหลวง

หนังสืออ้างอิง

Karidozo, M., Osborn, F.V. (2005). Can bees deter elephants from raiding crops? An experiment in communal lands of Zimbabwe. Pachyderm No. 39.

King, L.E., Douglas-Hamilton, I., Vollrath, F. (2007). African elephants run from the sound of disturbed bees. Current Biology Vol 17 No 19 R832

Kremen, C., Williams, N.M., Aizen, M.A., Gemmill-Herren, B., LeBuhn, G., Minckley, R., et al. (2007). Pollination and other ecosystem services produced by mobile organisms: a conceptual framework for the effects of land-use change. Ecology Letters. 10: 299–314 doi: 10.1111/j.1461-0248.2007.01018.x

Soltis, J., King, L.E., Douglas-Hamilton, I., Vollrath, F., Savage, A. (2014) African Elephant Alarm Calls Distinguish between Threats from Humans and Bees. PLoS ONE 9(2): e89403. doi:10.1371/journal.pone.0089403

Vollrath F., and Douglas-Hamilton I. (2002). African bees to control African elephants. Naturwiss. 89, 508–511.

ภาพโดย : Ana Grillo and Vivi Sriaram

Single donation (EN)
Would you like to donate?
How do you wish to pay?
Choose your bank
Choose your creditcard
Please enter your details

Section

Gender
Terms *
‹ Back to previous page